โมเดล 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่ กับการตลาดสำหรับโรงแรม

“บทสรุปแนวทางการเติบโตของธุรกิจแบบก้าวกระโดดด้วย 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่” เพื่อให้ภาคธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบในปรับตัว หรือประยุกต์ใช้ให้สอดรับกับทิศทางใหม่นี้

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับโลกในหลายส่วน ตั้งแต่การใช้ชีวิตของผู้คนไปจนถึงเรื่องของรูปแบบเศรษฐกิจ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงได้ทำการศึกษาและค้นหา “เครื่องจักรเศรษฐกิจตัวใหม่” และมองฉากทัศน์ที่ประเทศไทยจะสามารถสร้างการเจริญเติบโต และมีความเป็นไปได้ มีแนวโน้มไปทิศทางใด กระทั่งมีการจัดทำ “บทสรุปแนวทางการเติบโตของธุรกิจแบบก้าวกระโดดด้วย 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่” เพื่อให้ภาคธุรกิจและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบในปรับตัว หรือประยุกต์ใช้ให้สอดรับกับทิศทางใหม่นี้ และได้มีการจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 โดยเศรษฐกิจกระแสใหม่ที่ 6 ประการที่กล่าวถึง ได้แก่

  1. Indoor Economy: ระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากขึ้น
  2. Care Economy: ระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากความต้องการในการดูแลสุขภาพความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ผู้ป่วย รวมถึงกลุ่มวัยทำงานเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 
  3. Domestic Economy: ระบบเศรษฐกิจที่กลับมาให้ความสำคัญกับผู้บริโภคภายในประเทศ
  4. One Planet Economy: ระบบเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการรักษ์โลก
  5. Virtual Economy: ระบบเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างประสบการณ์ในโลกเสมือน
  6. Up-skill Economy: ระบบเศรษฐกิจรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมในงานสัมมนาครั้งนี้ด้วยแล้วเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยให้เกิดมุมมองทางธุรกิจใหม่ ๆ จึงขอจับเอา โมเดล 6 เศรษฐกิจกระแสใหม่มาเล่าสู่กันฟังในมุมมองที่ตัวเองเชี่ยวชาญคือเรื่องของการตลาดสำหรับธุรกิจโรงแรมโดยตรง

ก่อนที่เราจะเข้าไปสัมผัสกับระบบเศรษฐกิจกระแสใหม่นี้ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันชัด ๆ ว่า เรากำลังพูดถึงระบบเศรษฐกิจ มันจึงเป็นแนวคิดที่เรากำลังพูดถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับโรงแรมโดยตรง ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกิจกรรมพิเศษบางอย่างเพื่อสร้างกระแสเป็นครั้งคราว แต่มันคือ “New Business Model” ที่องค์กรต้องเข้าใจและโฟกัสมันอย่างจริงจังครับ

Indoor Economy: สำหรับธุรกิจโรงแรม สิ่งนี้คือการส่งมอบประสบการณ์ หรือการนำแบรนด์ของโรงแรมไปส่งมอบให้กับลูกค้าถึงที่บ้าน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงล็อคดาวน์ที่โรงแรมไม่สามารถเปิดบริการได้ เราจะเห็นว่าหลายโรงแรมสามารถนำเอาจุดขายของตัวเองมาขายให้ลูกค้าได้เพื่อคลายความคิดถึง อาทิ โรงแรมที่มีความประณีตพิถีพิถันเรื่องชุดเครื่องนอนก็นำหมอนมาขาย, โรงแรมที่อาหารอร่อยก็ทำน้ำพริกมาขาย หรือแม้กระทั้งแบรนด์โรงแรมหรูระดับโลกก็นำเอากลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของโรงแรมมาขายในรูปแบบน้ำมันอโรมาและน้ำหอม จะเห็นว่าการสร้างสินค้าในรูปแบบดังกล่าวนั้นนอกจากจะสร้างรายได้ให้โรงแรมเพิ่มได้อีกทางแล้ว ยังทำให้ลูกค้าได้อยู่ใกล้ชิด และสัมผัสกับแบรนด์ของโรงแรมอยู่ตลอดเวลา 

Care Economy: ในปัจจุบันเริ่มมองเห็นความใส่ใจในการออกแบบโรงแรม ซึ่งการออกแบบนี้จะเน้นในเรื่อง Universal Design หรือการออกแบบเพื่อทุกคนมากขึ้น ซึ่งถือเป็นจุดตั้งต้นของ Care Economy ได้เป็นอย่างดี และในฐานะนักการตลาดด้านโรงแรม เราก็สามารถนำสิ่งนี้มาขยายผลให้ชัดเจนขึ้นได้ โดยเราอาจจะสร้างแพ็คเกจเพื่อสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายโดยตรง อาทิ หากเราต้องการตลาดผู้สูงอายุ เราอาจสร้างแพ็คเกจที่ออกแบบมาให้ผู้สูงอายุ ตั้งแต่การนำเสนอห้องที่สามารถเข้าพักได้ง่ายไม่ต้องขึ้นบันได อาจจะรวมอาหารที่ออกแบบมาเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ไปจนถึงแพ็คเกจที่รวมไปกับกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบ ไม่ว่าจะเป็นการเที่ยววัด ทำบุญ หรือหากจะไปสายบันเทิงที่ผู้สูงอายุชอบ เช่น การร้องเพลงหรือเต้นลีลาส ก็สามารถทำได้เช่นกัน

Domestic Economy: ระบบเศรษฐกิจนี้คือผลพวงจากการที่คนเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศไม่ได้ในช่วงที่ผ่าน หลายธุรกิจที่เน้นพึ่งพาตลาดต่างประเทศต้องกลับมาให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศมากขึ้น หลายท่านพอได้ยินเรื่องนี้แล้ว อาจจะคิดว่าทุกวันนี้เราก็ทำการตลาดในประเทศอยู่แล้ว หลายโรงแรมมีนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ไม่น้อย แต่หากเราลองมองให้ละเอียดขึ้นเราจะสามารถทำการตลาดภายในประเทศให้ละเอียด และมีมิติมากขึ้นได้ด้วยการมองถึงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายโดยแยกไปถึงในระดับจังหวัดหรือระดับภูมิภาคมากขึ้น เช่น หากโรงแรมของเราตั้งอยู่ทางภาคใต้ เราอาจต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมของคนกรุงเทพฯ คนภาคเหนือ และคนภาคอีสานนั้น การจะมาเที่ยวใต้ก็มีวิธีการต่างกัน มีระยะเวลาในการพักต่างกัน การเข้าใจในเรื่องนี้ และใช้โฆษณาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อสื่อสารโดยตรงกับพื้นที่เป้าหมายก็จะทำให้มีโอกาสในการปิดการขายสูงขึ้นด้วย

โดยนอกจากการแบ่งตลาดภายในประเทศให้ละเอียดขึ้นแล้ว การนำเอาประสบการณ์ของต่างประเทศมานำเสนอกับลูกค้าก็นับเป็น Domestic Economy ด้วยเช่นกัน อาทิ อาจจะมีสักเดือนที่เราจัดธีมของโรงแรมเป็นเทศกาลเกียวโต มีการนำอาหารญี่ปุ่นมานำเสนอ บวกกับการเติมพร็อพเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ได้บรรยากาศแบบญี่ปุ่น หรือการจัดเทศกาลอาหารทะเลปูซาน เอาเมนูอาหารทะเลสไตล์เกาหลีมาขาย พร้อมกับเปิดเพลงในโรงแรมให้มีกลิ่นอายความเป็นเกาหลี เป็นต้น 

One Planet Economy: ปัจจุบันโรงแรมแทบทุกแห่งมีกิจกรรมเกี่ยวกับการแสดงออกของการรักโลกอยู่แล้ว แต่แค่กิจกรรมอย่างเดียวนั้นคงเป็นเรื่องของ CSR มากกว่า New Economy เพราะอย่าลืมว่าระบบเศรษฐกิจใหม่นั้นต้องสามารถเข้าไปในประสบการณ์ของผู้บิโภคมากขึ้น หรือหากถึงขั้นสร้างรายได้เพิ่มได้ยิ่งดี การออกแพ็คเกจพิเศษ หรือโปรโมชั่นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับกระแสรักโลกโดยตรง จึงเป็นอีกเรื่องที่ควรนำมาบรรจุใส่แผนการตลาดของท่าน อาทิ การออกแบบแพ็คเกจที่มีการเชิญชวนลูกค้าไปทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือโปรโมชั่นพิเศษที่จะมอบส่วนลดให้กับลูกค้าที่จะไปช่วยกันเก็บขยะริมชายหาด ก็เป็นตัวอย่างที่มีหลายโรงแรมเคยทำ และให้ผลตอบรับที่ดีมาแล้ว

Virtual Economy: ประเด็นนี้อาจจะยังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับธุรกิจโรงแรม แต่ในยุคที่การเดินทางระหว่างประเทศยังไม่สะดวกนัก เทคโนโลยีที่น่าสนใจในการนำมาใช้ก็คือ Virtual Inspection หรือการใช้รูปแบบวีดีโอ 360 องศา มาควบคู่กับเทคโนโลยี Conference Call เป็นรูปแบบที่เซลส์ของโรงแรมจะสามารถพูดคุยกับเอเจนซี่หรือองค์กรใหญ่ ๆ ที่กำลังวางแผนใช้บริการของโรงแรมได้ผ่านโลกเสมือน โดยยังไม่ต้องมาดูสถานที่จริง ซึ่งนี่เป็นเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้ผลอย่างยิ่งในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะเซลส์สามารถพาลูกค้าเดินชมห้องตัวอย่างผ่านระบบออนไลน์ และสามารถปิดการขายได้โดยไม่ต้องมาเจอกัน

Up-skill Economy: ตอนนี้ผู้คนต่างนิยมสร้างสกิลใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง ประกอบกับเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้การหาความรู้หรือทักษะเพิ่มมากขึ้น ผมอยากให้เราลองจินตนาการไปถึงการที่โรงแรมสามารถนำทักษะบางอย่างมาถ่ายทอด และเปิดช่องทางให้ผู้คนเข้ามาเรียน เช่น หลายโรงแรมเคยมี Cooking Class ให้ชาวต่างชาติได้มาลองมีประสบการณ์ทำอาหารไทยในโรงแรม ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถย้ายประสบการณ์นี้ไปอยู่บนออนไลน์ได้ และอาจต่อยอดไปถึงการขายเครื่องแกงหรือเครื่องปรุงบางชนิดได้อีกด้วย หรือจะสร้างช่องทางการเรียนออนไลน์ที่เป็นเหมือนสถาบันเล็ก ๆ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพบริการ การสร้างทักษะให้แก่คนที่สนใจอยากทำงานโรงแรม การสร้างช่องทางลักษณะนี้ก็สามารถสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สำหรับการแสวงหาพนักงานได้ด้วยทั้งหมดที่ได้อธิบายมานั้นเป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ทุกท่านต่างทราบดีว่า แต่ละโรงแรมล้วนมีความรู้ทักษะ และเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับท่านเองว่าจะสามารถพลิกแพลงนำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาเป็นเศรษฐกิจกระแสใหม่ ได้อย่างไร 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You May Also Like
Read More

เพิ่มยอดขายในหน้า Low Season ด้วย “กฎ 3 ตัวเลือก” ช่วยทำโปรให้สุดปัง!

เคยได้ยินประโยคนี้ไหมครับ “มนุษย์จะตัดสินใจไม่ได้ ถ้ามีตัวเลือกมากกว่า 3 อย่างขึ้นไป” ในฐานะที่ทุกคนมีบทบาทของการเป็นผู้บริโภคหรือ “ลูกค้า” เหมือนกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง คิดว่าประโยคนี้เป็นจริงหรือเปล่าครับ? ในฐานะที่ปรึกษาด้านการตลาดในธุรกิจโรงแรม ผมมักพูดถึง “กฎ 3 ข้อ” นี้อยู่เสมอ แล้วรู้ไหมว่าทำไมตอนนี้ถึงเหมาะสุดที่ผมเลือกเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง? เพราะธุรกิจบริการทุกประเภทกำลังจะเข้าสู่ Low…
Read More
Read More

Feature ลับของ Facebook ที่คนไม่ค่อยรู้

Facebook Fanpage Memories ใครที่เล่น Facebook อยู่เป็นประจำน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับ Feature Memories ของ Facebook ที่จะคอยเอาเรื่องราวที่เราโพสต์ไว้ในวันนี้ของปีก่อน ๆ มาให้เราเห็นว่าเราทำอะไร โพสต์อะไรไปบ้าง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่านอกจาก Facebook ส่วนตัวแล้ว Fanpage ก็มีเมนูนี้อยู่เหมือนกันนะครับ จะแตกต่างกันตรงที่ว่าของ Facebook ส่วนตัว จะเป็นการนำเอา Memories ในวันนี้ของปีก่อน ๆ มาแสดง ส่วนของ Fanpage จะเป็นการนำเอาคอนเทนท์ที่โพสต์ ในช่วงวันนี้ไปจนถึง 1 เดือนต่อจากนี้ของปีก่อน ๆ มาแสดง เช่น…
Read More
Read More

วิธีพัฒนาเพจจากปัจจัยภายใน

ทราบหรือไม่ว่าปัญหาในการทำเพจส่วนใหญ่เกิดจากการดู การถาม และทำตามเพจอื่น !!! ฟังดูอาจจะแปลกแต่มันคือเรื่องจริง ๆ ในช่วงหลัง ๆ มี แอดมินเพจต่าง ๆ ถามมาหลังไมค์ค่อนข้างบ่อยหัวข้อสนทนาคือ ทำไมริชถึงห่วยนัก ด่าพี่มาร์คนิด ด่าเฟสบุ๊คหน่อย ตามมาด้วยความกังวลต่าง ๆ นานา…
Read More
Read More

มหัศจรรย์แห่งเลข 3

ความลับในการวางโครงสร้างคอนเทนท์ปัง เหตุผลแห่งความปังของเลข 3 เลข 3 ถือเป็นอีกเลขมหัศจรรย์ที่เกี่ยวพันกับมนุษย์อย่างมากมาย เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ่วา ทำไมการแข่งกีฬาแท่นรับรางวัลถึงต้องมีให้ 3 ที่, ทำไมการวางแผนงานในรอบปีเราถึงนิยมวางแผนเป็นไตรมาศ ก่อนหน้านี้ผมเองก็เคยเขียนบทความเรื่อง เพิ่มยอดขายในหน้า Low Season ด้วย “กฎ 3…
Read More
Read More

เส้นทางของ การผลิต Social Media Content ในปี 2022

หนึ่งคำที่เน้นย้ำมาโดยตลอดเวลาใช้งานบน Facebook คือคำว่า “Facebook ปิดกั้น” คำนี้เป็นคำที่สร้างทัศนคติที่ผิดและทำให้การวางแผนในการทำงานพลาดโดยตรรกะของ Facebook แล้วตามปกติ จะไม่ได้ใกล้เคียงคำว่าปิดกั้น แต่ Facebook จะใช่ระบบเรียงลำดับ หมายถึง Facebook จะสรรหาเรื่องที่คิดว่า User จะสนใจมากที่สุดให้ปรากฎของ Feed ก่อน และเรื่องไหนที่ AI คิดว่า User จะสนใจน้อยก็เรียงลำดับน้อยลงลดหลั่นกันไป การที่ยอดริชของเพจแต่ละเพจน้อยลง จึงมีสาเหตุมาจาก จำนวนคอนเทนท์บนหน้าฟีดที่มากขึ้น รวมไปถึงดราม่าต่าง ๆ ที่สังคมเราสร้าขึ้นมา ดึงความสนใจจากเรื่องที่เป็นความสนใจทั่วไป แต่ถามว่าการปิดกั้นนั้นมีอยู่มั๊ย คำตอบคือมี แต่เป็นการมีในลักษณะของบทลงโทษ…
Read More
Read More

Editor Mindset อีกหนึ่งหัวใจสำหรับคนที่ต้องรับหน้าที่บริหารแฟนเพจ

Editor Mindset คืออะไร ถ้าจะให้แปลง่าย ๆ ก็คงหมายถึงจิตวิญญาณของการเป็นบรรณาธิการ อยากให้เราลองหลับตานึกและจินตนาการถึงบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ ๆ ต่าง ๆ เราจะเห็นว่าความแข็งแรงของสื่อสิ่งพิมพ์นั้นเกิดจากการทำงานหลาย ๆ ส่วน หลอมรวมกันเป็นสื่อที่แข็งแรง ในนิตยสารหนึ่งเล่ม แม้จะมีคอลัมน์หลากหลาย แต่พอเราอ่านไปเรื่อย ๆ…
Read More